การใช้ QR Code ในพิพิธภัณฑ์

เรามาพูดถึงการใช้ QR Code แบบทั่วไปในยุคปัจจุบัน ที่กำลังเป็นที่นิยม และใครๆ ก็ใช้งานเป็น เพราะในปัจจุบัน เราสามารถชำระเงินผ่าน QR Code แบบสังคมไร้เงินสด แต่ QR Code ไม่ได้มีประโยชน์แค่นั้น ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับพิพิธภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี เพราะ สามารถให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชม ไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ได้อีกช่องทางหนึ่ง ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะพิมพ์เป็น URL เอาไว้ ผู้ที่มาเที่ยวชมจะต้องพิมพ์ตามเอง URL ยิ่งยาวก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหา การพิมพ์ผิด ได้ง่าย จะดีกว่าไหมถ้าเราใช้ QR Code เพื่อลดปัญหานี้

“ถ้าเราให้ผู้เข้าชมพิมพ์ URL เองโอกาสที่จะพิมพ์ผิดเกิดขึ้นได้”

จะดีกว่าไหม ถ้าเราใช้ QR Code เพื่อลดปัญหานี้

การเข้าถึงการใช้งาน QR Code ในปัจจุบัน สามารถทำได้ง่ายมากๆ เช่น ระบบปฏิบัติการ iOS สามารถที่จะเปิดกล้อง เพื่อสแกนที่ QR Code ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ โดยในโทรศัพท์ Android ในหลาย ๆ ยี่ห้อสามารถ ทำได้เช่นเดียวกัน แต่ถึงหลายๆ รุ่นอาจจะยังทำไม่ได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีแอปพลิเคชันอีกมากมายที่สามารถ สแกน QR Code ได้ โดยในประชากรคนไทย ส่วนใหญ่ ใช้แอปพลิเคชันอย่างเช่น Line ซึ่งมีฟังก์ชันการสแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อน และเราสามารถที่จะใช้ฟังก์ชันตรงนี้ เพื่อสแกน QR Code ทั่วๆ ไปได้ เช่นเดียวกัน

“Content is The King” เป็นเรื่องที่ปฏิสธไม่ได้

เมื่อผู้ใช้งานสแกน QR Code ได้แล้ว เค้าจะเข้าไปตาม URL ที่เราใส่ไว้ เพื่อดูเนื้อหาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ อาทิ ข้อมูลโดยละเอียด รูปภาพเพิ่มเติม วีดีโอประกอบ โมเดลสามมิติ เสียงประกอบ เสียงบรรยาย การที่เราใส่ข้อมูลเอาไว้ในเว็บไซต์มีประโยชน์ และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า การที่เราไปสร้างพื้นที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จริง การที่เรามีวีดีโอในหน้างานจริง ส่วนใหญ่จะเล่นวนไปเรื่อย ๆ ลองคิดดูว่าถ้าวีดีโอยาว 10 นาที ผู้ที่เข้ามา จะต้องยืนดู หรือเค้าอาจจะมาตอนกลาง ๆ ของวีดีโอแล้ว เค้าไม่สามารถที่จะเลื่อนวีดีโอ ไปตั้งแต่เริ่มต้นได้ จะดีกว่าไหม ถ้าผู้ชม สามารถเลื่อนไปยังช่วงเวลาที่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ดูภายหน้าได้ รวมถึงสามารถแชร์ไปยัง โซเชียลมีเดียร์อื่นๆ โดยเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ทางอ้อม ที่ได้ผลดีอีกช่องทางหนึ่ง

หลากหลายภาษาไม่ใช่เรื่องยาก

ในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเป็นหลัก ในการใส่เนื้อหาให้นักท่องเที่ยวอ่าน และถ้าเกิดอยากเพิ่มเนื้อหาภาษาอื่นๆ จะกระทบค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เนื้อหาและการออกแบบที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า การเอาข้อมูลไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ เพียงคุณแปลเนื้อหาเหล่านั้น และเอาไปใส่ในเว็บไซต์ โดยให้ผู้ชม สามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้เลย หรือ ถ้าเกิดมีเนื้อหาที่ผิดพลาดขึ้นมา การพิมพ์สติ๊กเกอร์ไปแปะแทน ทำให้ดูไม่มืออาชีพ และไม่สวยงาม เราสามารถแก้ปัญหานี้โดยใช้เว็บไซต์ที่เป็นสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ ที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ทันที แทบไม่มีค่าใช้จ่าย

ด้วยระบบสถิติเก็บข้อมูลการใช้งาน QR Code เราสามารถนำไปต่อยอดในอนาคต

โดยปกติการนับจำนวนคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ต้องใช้การนับจำนวนคูปอง ที่จำหน่าย หรือมีเจ้าหน้าที่เพื่อนับจำนวนการยืนดู แต่ถ้าเราใช้ QR Code เราจะใช้เทคโนโลยีเพื่อนับจำนวนคนเข้าดูแทน และยังสามารถแสดงข้อมูลออกมาเป็นระบบกราฟ เพื่อเปรียบเทียบ ข้อมูลการเข้าชมในแต่ละวัน และแต่ละจุดได้โดยง่าย สามารถที่จะไปประยุกต์ใช้ในโปรแกรมต่างๆ เพื่อทำกราฟเปรียบเทียบ ในรูปแบบอื่น ๆ และเรายังสามารถทำการวิเคราะห์ จุดต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ว่าผู้เข้าชมชอบที่จะหยุดดูจุดไหน มากกว่า เพื่อเอาข้อมูลเหล่านี้ไป ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดในอนาคต

แบบประเมินความพึงพอใจ ที่ทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลสะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อ

นอกจากที่เราจะนับสถิติผู้เข้าใช้งานแล้ว เรายังสามารถให้ผู้เข้าชม ประเมินความพึงพอใจโดยรวมของการมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ หรือทำแบบสอบถามเป็นจุดๆ ว่าเนื้อหาที่ท่านอ่านอยู่ ท่านมีความพึงพอใจระดับใด เนื้อหาที่แสดงอยู่ให้ข้อมูลที่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในอนาคตเพื่อการนำไปปรับปรุง ตามความคิดเห็นของผู้ที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์

สนใจสอบถาม

illusion.thai@gmail.com

โทร 0637896694 คุณโจ